วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

บุคคลที่โด่งดังใน ติมอร์



Caroline  Pemberton

 



Caroline Pemberton เป็น miss austraria  
ที่เป็น celeb ของประเทศติมอร์เนื่องจาก เธอชอบนำพาเที่ยวในประเทศติมอร์ ไปในทุกที่ ตั้งแต่ป่า เขา ทะเล และยังไปตามติดการใช้ชีวิตและวัฒนธรรมของคนในประเทศติมอร์ เรียกได้ว่าไปมาเกือบทั่วประเทศติมอร์แล้ว แล้วได้มีการอัดคลิปทำรายการท่องเที่ยวในประเทศติมอร์เผยแพร่ไปยังทั่วโลก และชาวติมอร์ก็จะคุ้นหน้าคุ้นตาและรู้จักเธอ เพราะเธอเที่ยวและแวะเวียนบ่อย เป็นที่ชื่นชอบของชาวติมอร์


นี่คือ Blog Clip ใน Youtube ของ Caroline Pemberton  ที่เป็นสารคดีการท่องเที่ยวในประเทศติมอร์ที่เธอได้ทำ




"ทาอูร์ มาตัน รูอัก" ผู้นำของประเทศ ติมอร์




เนื่องจาก "ทาอูร์ มาตัน รูอัก" ผู้นำคนปัจจุบันของติมอร์หลังจากที่ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนที่นำโด่งอย่างโปร่งใส เพราะเนื่องด้วย  ทาอูร์ มาตัน รูอัก เป็นวีรบุรุษในสงครามเรียกร้องเอกราชจากอินโดนีเซีย จึงทำให้เป็นที่รักและชื่นชอบของคนทั้งประเทศ





สุดยอดสถานที่ท่องเที่ยวในติมอร์ตะวันออก


-       
  1.Dili



2.Pasir Putih beach



3.Liquica



4.Old fort of Oecussi east timor




5.Cape Fatucama`



6.Atauro island



7.Arte Moris cultural center.

 


8.View Old Town Baucau




East Timor's Underwater World













บทบาทของติมอร์ในอาเซียน




ไทยและอาเซียนบางประเทศ มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการรักษาสันติภาพในติมอร์-เลสเต โดยสนับสนุนให้มีการแก้ไขปัญหาติมอร์-เลสเตโดยสันติวิธี ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ ได้ส่งทหารเข้าร่วมในกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ นอกจากนี้ อาเซียนได้เปิดโอกาสให้ติมอร์-เลสเตได้เข้าร่วมในพิธีเปิดและพิธีปิดของการประชุม AMM ครั้งที่ 33 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งผู้นำติมอร์-เลสเตได้ใช้เวทีดังกล่าวในการหารือ และสร้างความคุ้นเคยกับผู้นำอาเซียนประเทศต่างๆ ทั้งนี้ ผู้นำติมอร์-เลสเตแจ้งว่า ติมอร์-เลสเตสนใจที่จะสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อได้รับเอกราชแล้ว

                นายรามอส-ฮอร์ตา ได้แจ้งว่าติมอร์-เลสเตจะต้องการเวลาประมาณ 4-5 ปี ก่อนที่จะพร้อมสมัครเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ในช่วงเวลานี้ ติมอร์-เลสเตอยากได้รับให้เป็นผู้สังเกตการณ์ถาวรในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับผู้นำอาเซียน ระบบและกลไกลต่างๆ ของอาเซียน

               อาเซียนเห็นชอบให้ติมอร์-เลสเตเข้าร่วมกิจกรรมของอาเซียนในสาขาที่สนใจ โดยยังไม่มีสถานะใดๆ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการสมัครเป็นสมาชิกภายในปี 2554 ทั้งนี้ ติมอร์-เลสเตกำหนดจะลงนามเป็นภาคีของสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเดือนมกราคม 2550 ในระหว่างการประชุมผู้นำอาเซียนที่ฟิลิปปินส์






วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สไตล์การโฆษณา


           
                   เนื่องจากประเทศ ติมอร์ เลสเต ยัง ขาดทักษะในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุตสหกรรม รวมถึงขาดเงินทุนในการประกอบกิจการ จึงทำให้ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีมีไม่มากนัก และ เนื่องจากประเทศติมอร์ยังอยู่กันแบบชนเผ่าหรือเป็นชุมชนชนบท ความเป็นอยู่เหมือนคนสมัยก่อน ทั้งครอบครัว สังคม ยังไม่พัฒนามากนัก การโฆษณาก็จะเป็นสไตล์ชาวบ้าน หรือแบบธรรมดาๆทั่วไป มีการเต้น หรือผสมผสานความเป็นวัฒนธรรมของติมอร์ปนเข้าไปด้วย เป็นการโฆษณาที่โฆษณาเพื่อแจ้งให้ทราบ ให้เห็นถึงประโยชน์และความสามารถของ product นั้น  เช่น 

โฆษณา สเปรย์กำจัดแมลงในประเทศติมอร์



โฆษณาร่วมใจกันสวดมนต์ 30 วันของติมอร์ เพื่อประเทศ เพื่อโลกที่สงบสุข



โฆษณา Kupang รถข้ามชายแดนของติมอร์


ตัวอย่าง โปสเตอร์งาน Creative ในประเทศติมอร์


และตัวภาพตัวอย่างงานใน Creative Timor-Leste






ตัวอย่างภาพยนตร์เรื่องหนึ่งของประเทศติมอร์


และส่วนใหญ่ในการโฆษณาของประเทศติมอร์ จะเน้นการท่องเที่ยวของประเทศ เพราะประเทศติมอร์มีภูมิประเทศที่น่าท่องเที่ยว เป็นหมู่เกาะ ทะเล มีความเป็นอยู่ การอาศัยของประชากรที่เรียบง่ายแบบชุมชนในสมัยก่อน มีวิถีชีวิตพอเพียง สงบสุข และมีกิจกรรมในครอบครัวหรือชุมชน

ตัวอย่างในเว็บข่าวของประเทศติมอร์




ตัวอย่างแนะนำการท่องเที่ยวในประเทศติมอร์







การสร้างแบรนด์


BRAND

                แบรนด์ส่วนใหญ่จะเป็น Local brand เป็นสินค้าที่ทำขึ้นมาเองจากชุมชนและใช้กันเองายในประเทศหรือชุมชน เน้นวิถีชนบท จึงไม่ค่อยมีสินค้าที่มีมูลค่ามาก เป็นสินค้าที่ซื้อและจับจ่ายใช้สอยกันเอง ถ้าเป็นแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักหรือโด่งดังในประเทศก็จะมีโฆษณาของแบรนด์สินค้านั้นออกมา เพื่อเป็นการตอกย้ำถึงคุณภาพและประโยชน์ของ Product นั้น และส่วนมากประเทศติมอร์จะรับสินค้าอุปโคบริโภคและใช้สินค้าจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศเจริญที่อยู่ใกล้กับติมอร์


  

ประเทศติมอร์ ยังมีเว็บไซด์เกี่ยวกับข่าวสารบ้านเมืองายในประเทศ



           ในเรื่องของเพลงหรือ Brand เพลงในประเทศติมอร์ยังไม่มีความเจริญมากนัก เพลงที่เห็นจะเป็นเพลงสไตล์คล้ายๆกับเพลงลูกทุ่งในประเทศไทย าพในเพลงจะเรียบง่าย ไม่ค่อยมีสีสัน มีคนร้องแสดงในเพลง และ เนื้อเพลงแสดงให้ร้องตาม

ตัวอย่าง



 







วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อมูลและประวัติ




ประเทศ ติมอร์-เลสเต (Timor-Leste) หรือ ติมอร์ตะวันออก มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต



ติมอร์-เลสเต  เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยเกาะติมอร์ด้านตะวันออก เกาะอาเตาโร (Atauro) และเกาะจาโก Jaco) ที่อยู่ใกล้เคียง และเขตโอเอกูซี (Oecusse) ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของเกาะติมอร์ ติมอร์ตะวันออกถูกล้อมรอบโดยพื้นที่ของประเทศอินโดนีเซีย
แต่เดิมประเทศติมอร์-เลสเตถูกปกครองโดยประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ติมอร์ตะวันออกได้แยกตัวเป็นอิสระ และได้รับเอกราชอย่างเต็มตัวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) เมื่อประเทศติมอร์ตะวันออกเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติในปีเดียวกัน ก็ได้ตกลงว่าจะเรียกประเทศอย่างเป็นทางการว่า "ติมอร์-เลสเต" (Timor-Leste) ซึ่งเป็นชื่อในภาษาโปรตุเกส

การปกครอง

ตาอูร์ มาตัน รูอัก ประธานาธิบดีประเทศติมอร์ตะวันออกคนปัจจุบัน
ปัจจุบันประเทศติมอร์-เลสเตมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ด้วยความที่เป็นประเทศใหม่ ซึ่งต้องเผชิญกับเหตุการณ์สงครามกลางเมือง และการรุกรานจากประเทศอื่น เพื่อให้การดำเนินการในติมอร์ตะวันออกเป็นไปโดยสงบ องค์การสหประชาชาติโดยสำนักงานโครงการเพื่อสนับสนุนภารกิจของในติมอร์ตะวันออก (United Nation Mission of Support in East Timor : UNMISET) เป็นหน่วยงานที่คอยให้การสนับสนุนการดำเนินการต่าง ๆ ในติมอร์ตะวันออกให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย ประเทศติมอร์ตะวันออกเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2002



ภูมิประเทศ

ประเทศติมอร์-เลสเตเป็นประเทศหมู่เกาะ จัดเป็นเกาะในกลุ่มเกาะอินโดนีเซีย เรียกว่า เกาะติมอร์ ด้วยเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาะขนาดเล็ก เกาะติมอร์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย และอยู่ห่างจากกรุงจาการ์ตา ของประเทศอินโดนีเซียไปทางตะวันออกประมาณ 2,100 กิโลเมตร ประเทศติมอร์ตะวันออกประกอบไปด้วยดินแดนส่วนปลายด้านตะวันออกของเกาะติมอร์ และมีดินแดนส่วนแยกเขตโอเอกูซีที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางตอนเหนือของติมอร์ตะวันตกซึ่งอยู่ในการปกครองของประเทศอินโดนีเซีย



ภูมิอากาศ

ประเทศติมอร์-เลสเตมีเพียงสองฤดูเช่นเดียวกับทางภาคใต้ของประเทศไทย คือมีฤดูฝนและฤดูแล้ง ภูมิอากาศบางแห่งมีภูมิอากาศแบบสะวันนา ด้วยเหตุที่ได้รับลมแล้งจากทะเลทรายทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย ทรัพยากรทางธรรมชาติของติมอร์ตะวันออกคือ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งอาจมีมากไม่แพ้ประเทศบรูไนที่อยู่ในทะเลลึกที่เรียกว่า Timor Gap ซึ่งอยู่ครึ่งทางระหว่างติมอร์-เลสเตกับออสเตรเลีย ส่วนพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ กาแฟ มะพร้าว โกโก้ ข้าวโพด และปศุสัตว์ที่สำคัญได้แก่ โค กระบือ แกะ ม้า และทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีอยู่มากมาย

เศรษฐกิจ

ลู่ทางการค้าการลงทุนในติมอร์ตะวันออกที่มีศักยภาพ คือ ไร่กาแฟ การประมง ธุรกิจการท่องเที่ยว รวมถึงแหล่งทรัพยากรประเภทน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในเขต Timor Gap ซึ่งอยู่ระหว่างติมอร์-เลสเตกับออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี ธุรกิจเหล่านี้ยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและการสนับสนุนด้านการเงินจากนักลงทุนภายนอกอยู่มาก เนื่องจากติมอร์-เลสเตยังขาดเงินทุน และชาวติมอร์-เลสเตยังขาดทักษะในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กอปรกับในปัจจุบันมีอัตราผู้ว่างงานสูงประมาณร้อยละ 80 ซึ่งในส่วนของนักธุรกิจไทยจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของระเบียบรวมถึงอุปสรรคดังกล่าวต่าง ๆ ข้างต้น เพื่อประกอบการพิจารณาถึงความเสี่ยงในการลงทุนในติมอร์-เลสเต และขณะนี้สินค้าส่วนใหญ่ในติมอร์-เลสเตนำเข้าจากออสเตรเลีย เพื่อรองรับการบริโภคของคณะเจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติและคณะทูตที่ปฏิบัติงานในติมอร์-เลสเต





ประชากร

งานแต่งงานของชาวติมอร์เชื้อสายจีนแคะ ปี ค.ศ. 2006
ประเทศติมอร์-เลสเตมีประชากรประมาณ 1,040,880 คน โดยประชากรมีความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์ และภาษาที่มีถึง 30 กลุ่ม โดยต่างคนต่างอยู่ นอกจากนี้ยังมีชุมชนชาวติมอร์เชื้อสายจีน และคนไทยในกรุงดิลี ส่วนภาษาทางการนั้นไม่เป็นที่ตกลงแน่นอนว่าจะใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการ แต่ภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในติมอร์-เลสเต คือ ภาษาเตตุม ภาษาโปรตุเกส ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษ โดยสองภาษาหลังนี้ทางการถือเป็นภาษาปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีภาษาของชนเผ่าพื้นเมืองต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ



วัฒนธรรม

ประชาชนชาวติมอร์-เลสเตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามชนบท โดยส่วนมากยังทำการเกษตรแบบดั้งเดิมและพึ่งพาตนเอง มีการศึกษาต่ำ มีการจับปลาและเลี้ยงสัตว์ ผู้คนส่วนใหญ่ค้าขายไม่เป็น ไม่มีความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม เครื่องจักรกล แต่ชาวติมอร์-เลสเตนั้นมีความเคารพในระบบอาวุโส มีระบบเครือญาติที่แข็งแกร่ง รักพวกพ้อง รักขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม โดยสตรีชาวติมอร์-เลสเตนั้นจะทำงานหนักในขณะที่บุรุษมักไม่ค่อยช่วยงานบ้าน